วิธีหาคอร์สเรียนออนไลน์ให้ลูก เลือกแบบไหนเหมาะกับเด็กประถม

คอร์สเรียนออนไลน์ติวสดผ่าน ZOOM ในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ การเรียนออนไลน์แบบ 100% ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนมีความกังวลว่า ถ้าเป็นยังนี้ต่อไป ลูกจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนหรือเปล่า ลูกจะเรียนอ่อนลงหรือไม่ โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาหลัก และในขณะที่การเรียนออนไลน์ซึ่งเป็นแผนการสอนของโรงเรียนในภาวะวิกฤตินี้ ดูเหมือนว่าเด็ก ๆ จะได้เรียนออนไลน์ไม่เต็มที่ อุปสรรคก็เยอะ วันหยุดก็แยะ ครูผู้สอนก็ประชุมบ่อย กลายเป็นว่าการเรียนออนไลน์จาก 100% เหลือแค่ 30% อีก 70% ที่เหลือคือเด็ก ๆ ต้องทำใบงานและถ่ายรูปส่งครู    ด้วยความที่เป็นเด็กประถม ระบบการใช้สมองจำยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ การเรียนออนไลน์ 30% ต่อ 1 สัปดาห์กับโรงเรียน อาจจะไม่เพียงพอกับเด็ก ๆ เพราะความจำของพวกเขาจะลดลง 50% ภายใน 2 วัน มันจะกลายเป็นเพียงความจำระยะสั้น (เหมือนการได้ยินชื่อดารา) หากไม่มีการทบทวนซ้ำ หรือไม่มีเทคนิคการสอนที่เป็นเหมือนการลงรหัสให้สมองจำไว้ว่าเป็นความจำระยะยาว (เหมือนการขับรถ) ผู้ปกครองหลายคนจึงตัดสินใจให้ลูกเรียนพิเศษ เพื่อเสริมให้ลูกเป็นคนเก่ง แต่ปัญหาก็คือ ตอนนี้แม้แต่โรงเรียนกวดวิชาก็ต้องปิดในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส ดังนั้น มันจึงเหลือทางเลือกเดียว คือ ซื้อคอร์สเรียนออนไลน์จากติวเตอร์ดังให้ลูกเรียน ซึ่งมันอาจช่วยให้เด็กบางคนเก่งขึ้น…

ถึงยุคที่ต้องเรียนออนไลน์ 100% จะทำยังไงกันดี?

มีข่าวแว่วมาว่าจะเปิดเรียนในวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีที่ไวรัสโควิดกำลังระบาดหนัก ข่าวแว่วนี้ได้ยินได้ฟังมาหลายจังหวัด ซึ่งมันเป็นข่าวที่ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราหวั่นวิตก แม้ตัวเลขของเด็ก ๆ ที่ป่วยหนักและสูญเสียจากโควิดเกือบจะเป็น 0 แต่แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้ลูกเสี่ยงกับโควิด แล้วจะแต่งตัวไปโรงเรียนยังไง? เรียนออนไลน์ที่บ้านต่อไปก่อนไม่ดีกว่าหรือ! นั่งมองดูลูกเรียนออนไลน์ในห้องนอน ในใจก็คิดว่า จะแต่งชุดนักเรียนไปโรงเรียนตามปกติได้เหรอ? โดยเฉพาะเด็กประถมที่ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่มีวัคซีนตัวไหนในประเทศไทยที่ฉีดให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีได้ หรืออาจมีวัคซีนบางยี่ห้อที่มีในประเทศและการันตีว่าฉีดให้เด็กได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรทั้งรัฐบาล (ก.สาธารณะสุข) และพ่อแม่ผู้ปกครอง ก็ไม่กล้าเสี่ยงที่จะให้เด็กอายุ 8 ขวบฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการสูญเสียจากการติดเชื้อโควิด ถ้าเป็นเช่นนี้เราจะกล้าให้ลูกแต่งตัวไปโรงเรียนตอนโมงเช้า และไปรับกลับบ้านตอน 4 โมงเย็นได้อย่างไร แม้การเรียนออนไลน์จะได้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาน้อยถึงน้อยมาก แต่มันก็ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราสบายใจ อย่างน้อยที่สุด ลูกก็จะไม่กลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเข้ามาในบ้าน ผู้ใหญ่อาจป้องกันอันตรายจากโควิดได้เป็นอย่างดี แต่เด็กอายุ 4 – 15 ปี หรือไปจนถึง 18 ปี หรือแม้แต่ผู้ใหญ่บางคน ไม่อาจป้องกันตัวเองจากโควิดได้ และเด็กที่กำลังนั่งเรียนในห้องเรียนเกิน 80% ไม่ใส่หน้ากากอนามัยกัน ที่เหลืออีก 20% คือ…

โจทย์ที่เป็นปัญหาของเด็กประถม และเป็นปัญหาระดับชาติ ถ้าอย่างนั้นเรียนออนไลน์กับครูพิพัฒน์พงศ์กันเถอะ

คืนวันอาทิตย์ผมให้ลูกเตรียมตัวเรียนออนไลน์ Live EP 2 ติวเข้มคณิตศาสตร์ เรื่องจำนวนและตัวเลข ซึ่งครูพิพัฒน์พงศ์ได้วางโปรแกรมการสอนไลฟ์อย่างเป็นระบบ เรียงลำดับเนื้อหาเริ่มต้นจากเรื่องพื้นฐาน ประถมปลาย (วันอาทิตย์) มัธยมต้น (วันเสาร์) มัธยมปลาย (วันพุธ)  ลูกผมอยู่ ป.3 แต่ก็ให้เรียนออนไลน์กับครูเพื่อเรียนรู้ทักษะของ ป.4 ป.5 และ ป.6 เพราะหวังว่าลูกจะเรียนคณิตศาสตร์ได้ง่ายขึ้น เมื่อเขาขึ้น ป.4 เริ่มต้นการ Live ติวเข้ม ครูพิพัฒน์พงศ์เปิด Live ด้วยโจทย์คณิตศาสตร์ที่เป็นปัญหาระดับชาติ แต่เมื่อผมมองดูโจทย์แล้วคิดว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ เพราะมันเป็นเพียงการบวกลบคูณหารที่เรียงต่อกันไปเรื่อย จึงหันไปทำอย่างอื่น ปล่อยให้ลูกหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ได้ฟังครู สักพักได้ยินเสียงลูกบอกว่า “พ่อข้อนี้ตอบ 22 ” ผมแปลกใจเล็กน้อย แต่ก็บอกลูก “คอมเมนต์ตอบครูไปเลยลูก” โจทย์ง่าย ๆ แต่ครูพิพัฒน์พงศ์บอกว่ามันเป็นปัญหาระดับชาติ (เพราะมันไม่มีวงเล็บ) 4 x 3 + 5 – 2  2…

เมื่อลูกสอบตกคณิตศาสตร์ เรียนออนไลน์ติวเข้มจะช่วยได้ไหม?

เด็กประถมที่อ่อนคณิตศาสตร์ เรียนไม่ได้ ไปไม่ไหว จนผลการเรียนของลูกทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราใจหาย โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิชาหลักที่เด็กประถมจะต้องฝ่าฟันกับมันไปอีกหลายปี ต่อให้เด็กเลือกเรียนสายอาชีพในช่วง ม.ปลาย พวกเขาก็ยังจะต้องฝ่าฟันกับวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นอยู่ดี แล้วจะไปต่อยังไง? และคุณอย่าพึ่งคิดว่า “จะให้ลูกไปเรียนออนไลน์พิเศษติวเข้มที่ไหนดี? ทุกวันนี้ติวเตอร์เก่ง ๆ ครูสอนพิเศษดัง ๆ มีมากมายทั่วฟ้าเมืองไทย แค่คุณค้นหาบน Google ด้วยคำง่าย ๆ คุณจะพบทางออกที่ฉาบหน้าไปด้วยความเก่งกาจระดับอินเตอร์ของสถาบันกวดวิชาเกือบร้อยแห่ง “เรียนออนไลน์” เรียนที่ไหนก็ได้ เรียนตอนไหนก็ได้ หรือจะเรียนแบบเห็นหน้าตัวต่อตัวก็ยังได้ แต่ก่อนที่คุณจะเลือกให้ลูกติวพิเศษเรียนออนไลน์กับเหรียญทองโอลิมปิกที่ไหน ลองพิจารณาปัญหาที่แท้จริงดูก่อนว่า เพราะอะไรลูกของเราจึงอ่อนคณิตศาสตร์จนสอบตก ลูกขี้เกียจ อย่าพึ่งหาที่เรียนออนไลน์ติวเข้ม ถ้าเด็กขี้เกียจแสดงว่าพวกเขาไม่เข้าใจเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่กำลังเรียนอยู่ สาเหตุของความขี้เกียจคืออะไร? การที่คนคนหนึ่งจะขี้เกียจทำอะไร นั่นแสดงว่าเขาเบื่อกับสิ่งที่ต้องทำ สาเหตุของการเบื่อก็คือความไม่สนุก เรียนคณิตศาสตร์ไม่สนุก สักพักเริ่มเบื่อหน่าย กลับถึงบ้านแค่คิดว่าจะต้องทำการบ้านคณิตศาสตร์ก็ขี้เกียจแล้ว แบบนี้การเรียนออนไลน์ติวเข้มด้วยติวเตอร์เกียรตินิยมอันดับหนึ่งไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แน่นอนสาเหตุหลักของความไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ก็คือ พื้นฐานอ่อน! ลูกของเราอาจจะไม่เข้าใจเนื้อหามาตั้งแต่เริ่มต้น คูณและหารเลขไม่ได้เพราะท่องสูตรไม่ได้ หรือเด็ก ๆ อาจจะไม่มีเทคนิคอะไรเลยในการช่วยแก้โจทย์คณิตศาสตร์ ดังนั้น ถ้าคุณจะเลือกแก้ปัญหาด้วยวิธีหาที่เรียนออนไลน์ติวเข้มให้กับลูก คุณจะต้องเลือกสถาบันที่มีหลักสูตรปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อน เมื่อเด็ก ๆ ได้ปรับพื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่เริ่มแรกอย่างเข้าใจ พวกเขาจะสามารถเรียนคณิตศาสตร์ขั้นสูงได้อย่างสนุก เมื่อเรียนสนุกก็แก้โจทย์คณิตศาสตร์ได้มันส์มือ…

อุปสรรคของการเรียนออนไลน์

ขอบคุณภาพจาก : www.wiziq.com/courses/ โรงเรียนทั่วประเทศจำเป็นต้องปิดเรียนเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส (COVID 2019) ทำให้โรงเรียน ครูผู้สอน และนักเรียน จะต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เป็นการเรียนออนไลน์แบบ 100% จึงเกิดอุปสรรคมากมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อุปสรรคหนึ่งที่สำคัญนอกจากการที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องหาอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เพื่อรองรับการเรียนออนไลน์ก็คือ สัญญาณภาพและเสียงที่เผยแพร่ Live ซึ่งเป็นระบบออนไลน์ที่โรงเรียนหรือครูเลือกใช้ และในตอนนี้ระบบ LINE ได้รับความนิยมในการเรียนออนไลน์มากที่สุด ข้อดีของการเรียนออนไลน์ผ่านระบบ LINE ก็คือ ไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน ครูสามารถเห็นหน้านักเรียน 30 – 50 คนได้ นักเรียนถามครูเมื่อสงสัยเนื้อหาบทเรียนได้ทันที และครูก็สามารถตอบได้ทันทีเช่นกัน อีกทั้งครูยังสามารถแชร์เอกสารการเรียนการสอนให้ทุกคนในชั้นเรียนได้เห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือเอกสารนำเสนอจากโปรแกรม Microsoft หรือ Google และครูยังสามารถเลือกที่จะเห็นหน้านักเรียนคนไหนที่มีข้อซักถามครูได้ตลอด (แต่ถ้านักเรียนถามพร้อมกันกว่า 30 คน ก็ดูจะเป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่ง และเราจะได้ยินบ่อยมากกับคำว่า “นักเรียนปิดไมค์ก่อนค่ะ” ในการเรียนออนไลน์) ข้อเสียของการเรียนออนไลน์ผ่านระบบ LINE (ฟรี!) ข้อเสียที่สำคัญที่สุดในการเรียนออนไลน์ผ่านระบบ LINE หรือระบบอื่นในทำนองเดียวกัน (ฟรี!) ก็คือ หากครูขึ้นกระดานสอนภาพจะไม่ชัด เด็ก…

เรียนออนไลน์กับครูพิพัฒน์พงศ์ได้อะไรมากกว่าหลักสูตรแกนกลาง

ขอบคุณภาพจาก : www.thisreadingmama.com ถ้าคุณเห็นหนังสือแบบเรียนคณิตศาสตร์ของลูก หลายเรื่องหลายแบบฝึกหัด แม้จะง่ายสำหรับเรา แต่มันเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กประถม ต่อให้คุณเพียรพยายามอธิบายให้ลูกเข้าใจนานทั้งวัน ก็ดูเหมือนว่าลูกจะยังไม่เข้าใจเท่าที่เราเข้าใจ เพราะอะไร? เพราะเราก็ถูกสอนมาด้วยหลักสูตรแกนกลางเช่นเดียวกับลูก (เบ้าหลอมเดียวกัน) แม้จะต่างยุคต่างสมัย หลักสูตรการเรียนคณิตศาสตร์พัฒนาไปไกลแล้วสำหรับเด็กประถมทุกวันนี้ แต่ถ้าคุณจะสังเกตดูให้ดี หลักสูตรคณิตศาสตร์ที่เด็กประถมเรียน มีความคล้ายคลึงหรือมีทำนองเดียวกันกับหลักสูตรคณิตศาสตรที่พ่อแม่อย่างเราเรียน เมื่อ 20 – 40 ปีก่อน ลองถามใจตัวเองดูว่า กว่าเราจะเข้าใจในแก่นแท้ของจำนวนและตัวเลข เราอายุปาเข้าไปเท่าไหร่แล้ว แน่นอนตอนที่เรายังเข้าไม่ถึงแก่นแท้ของพื้นฐานคณิตศาสตร์ เราก็ไม่ต่างกับลูกของเราในตอนนี้ พยายามสอนยังไงลูกก็ไม่เข้าใจ เพราะพวกเขายังเข้าไม่ถึงแก่นแท้ของจำนวนและตัวเลข อันที่จริงพื้นฐานของคณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุก เรียนคณิตนั้นเหมือนเล่นเกม แต่น่าแปลกที่หลักสูตรการเรียนคณิตศาสตร์ของบ้านเรา สร้างเกมคณิตศาสตร์ให้เป็นหลักสูตร์แบบเรียน เด็กประถมเล่มเกม Among Us ได้รู้เรื่องเข้าใจและสนุกภายใน 2 ชั่วโมง แต่พวกเขาใช้เวลากับโจทย์ปัญหาวิธีลบทั้งวัน แต่กลับไม่เข้าใจเพราะอะไร? เพราะมันไม่สนุก! เมื่อไม่สนุกก็เริ่มเบื่อ พอเบื่อแล้วก็เริ่มง่วง ถ้าเราบังคับลูกจะงอแง สุดท้ายคณิตศาสตร์จะกลายเป็นเรื่องล้มเหลวทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ถ้าคุณลองให้ลูกมาเรียนออนไลน์กับครูพิพัฒน์พงศ์ คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลูกในทันที นั่นก็คือพวกเขาจะเรียนคณิตศาสตร์อย่างสนุก เพราะเรียนออนไลน์กับครูพิพัฒน์พงศ์เหมือนเล่นเกม เด็ก ๆ จะเพลิดเพลินกับการเล่นเกมคณิตศาสตร์จนลืมไปเลยว่ากำลังเรียนออนไลน์อยู่ ถ้าคุณได้เห็นเด็กประถมแข่งกันตอบคำถามครูพิพัฒน์พงศ์…

ความยากในคณิตศาสตร์ของเด็ก ป.4 ป.5 ป.6

ขอบคุณภาพจาก : https:turtleislandeducate.com ถ้าลูกของคุณไม่เข้าใจการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่ ป.2 โจทย์บอกอะไร โจทย์ถามอะไร นั่นแสดงว่าเมื่อพวกเขาเลื่อนชั้นขึ้น ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 จะไม่มีความเข้าใจในเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหาเลย และยิ่งไปกว่านั้นถ้าพวกเขาเจอโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากและซับซ้อนขึ้นในระดับมัธยม ลูกของคุณจะเลือกวิธีที่มักง่ายที่สุดในการหาคำตอบนั่นก็คือ การเดา หลักสูตรพื้นฐานการแก้โจทย์ปัญหาวิธีบวกและวิธีลบของเด็ก ป.2 จะพยายามทำให้เด็กเข้าใจว่า โจทย์ถามอะไร นั่นหมายถึงสิ่งที่เด็กจะต้องหาคำตอบในตัวเลขที่โจทย์ให้มา นั่นก็คือโจทย์บอกอะไร และนี่คือสิ่งที่ยากยิ่งที่พ่อแม่ต้องกุมขมับ ถ้าจะต้องสอนให้ลูกเข้าใจ แต่คุณจะต้องพยายามทำให้ได้! เพื่อทำให้เด็กเข้าใจว่า การหาคำตอบที่โจทย์ถามก็คือการนำสิ่งที่โจทย์บอกมาทำอะไรกัน “รวมเข้าหรือหักออก?” บางทีโจทย์คณิตศาสตร์วิธีบวกอาจดูง่ายกว่าวิธีลบ ตรงที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่โจทย์วิธีลบที่ดูเหมือนไม่ซับซ้อนแต่ทำให้เด็ก ป.2 งง เช่น แม่ซื้อส้มมา 28 ผล ซื้อแอปเปิลมา 18 ผล แม่ซื้อส้มมากกว่าแอปเปิลกี่ผล แน่นอนโจทย์ถามซับซ้อนกว่า มีขนม 12 ก้อน ให้เพื่อน 5 ก้อน จะเหลือขนมกี่ก้อน ถ้าเด็ก ป.2 เจอกับโจทย์ที่ถามซับซ้อนไม่ตรงไปตรงมา พวกเขาจะรู้สึกไม่แน่ใจขึ้นมาทันทีว่า จะต้องใช้วิธีอะไรเพื่อหาคำตอบ (บวกเหรอ?)…

จะทำอย่างไร? เมื่อลูกง่วงนอนตอนเรียนคณิตศาสตร์

ขอบคุณภาพจาก : www.cuemath.com P พ่อแม่หลายคนเจอปัญหาเมื่อพยายามอธิบายเนื้อหาคณิตศาสตร์ให้ลูกเข้าใจ เมื่อใดที่เขาเงียบ สักพักจะอ้าปากหาว แล้วเริ่มสัปหงก อาการแบบนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่จะอารมณ์เสีย หรืออาจเกิดความรู้สึกที่ไม่พอใจ (นี่พ่อกำลังอธิบายนะ!) หากปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นกับคุณ อย่าดุลูกเป็นอันขาด! เพราะความไม่เข้าใจ ความน่าเบื่อนั่นเองที่ทำให้เด็กๆ ง่วงนอน โดยเฉพาะถ้าพวกเขาเรียนมาเหนื่อยทั้งวัน แต่จะต้องมานั่งทำการบ้านหลังอาหารเย็น ถ้าคุณเผลอดุลูกนั่นแปลว่าคุณพลาดอย่างหนัก เพราะมันจะทำให้พวกเขาต่อต้าน เด็กก็คือเด็ก! ไม่ใช่ความผิดของเด็กที่เขาจะง่วงนอน แต่มันเป็นความผิดของคุณต่างหากที่สอนอย่างไรทำให้ลูกไม่เข้าใจ จนกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ หนังท้องตึง หนังตาก็เริ่มหย่อน ตัวหนังสือตัวเลขที่อยู่ตรงหน้าเบลอๆ ไปหมด สุดท้ายก็ zzzZZZ… แล้วคนเป็นครูเขาสอนอย่างไร? มันอาจเป็นไปได้ว่าบรรยากาศในห้องเรียนนั้นไม่ค่อยเอื้ออำนวยสักเท่าไหร่ อีกทั้งคุณจะสังเกตเห็นได้ว่าวิชาคณิตศาสตร์ หรือภาษาไทย มักจะอยู่คาบเรียนช่วงเช้าไม่อยู่ช่วงบ่าย เพราะโดยปกติเด็กจะเรียนช่วงเช้าพักกลางวันกินข้าววิ่งเล่น ตกบ่ายมาเด็กจะเหนื่อยและเริ่มง่วงนอน ดังนั้น วิชาหลักภาคทฤษฎีจึงจำเป็นจะต้องอยู่คาบเช้าก่อนพักกลางวัน ของเปรี้ยว ถ้าคุณจะต้องอธิบายเรื่องโจทย์ปัญหาบวกลบคูณหาร ก่อนจะเปิดบทเรียนหรือโจทย์ข้อสอบขึ้นมา เตรียมผลไม้เปรี้ยวจัดเอาไว้เลย แต่อย่าให้เป็นของดอง! (โซเดียมสูง) หรือลูกอมก็ไม่สมควร (ฟันจะผุ) ไม่ว่าจะเป็นส้ม สับปะรด มะยม วางไว้ที่โต๊ะเรียนเลย นี่คือเทคนิคเบื้องต้นเมื่อพ่อแม่จะต้องลงมือสอนเนื้อหาการเรียนอะไรให้ลูกเข้าใจ เมื่อสังเกตเห็นว่าเขาเริ่มเงียบป้อนส้ม ถ้ายังเงียบอยู่ให้เขากัดมะยมเปรี้ยวจี๊ด ตาสว่างทันที! และที่สำคัญอย่าคิดว่าที่ลูกเงียบฟังอย่างเขาใจ…

เทคนิคสอนลูกวัยประถมเรื่องการเรียงลำดับจำนวน

ขอบคุณภาพจาก : www.empoweringparents.com P พ่อแม่หลายคนปลื้มใจที่ลูกบวกลบเลขได้เก่ง ป.1 บวกลบเลขหนึ่งหลักได้เร็ว ป.2 และ ป.3 บวกลบเลขสองและสามหลักได้เยี่ยม (ลูกฉันจะต้องเรียนหมอได้แน่ๆ) แน่นอนเราทุกคนย่อมดีใจและมีความหวังว่าลูกจะเป็นคนเรียนเก่ง เมื่อเห็นผลงานที่ดีเยี่ยมของพวกเขา แต่ปรากฏว่าเมื่อลูกเจอกับโจทย์การเรียงลำดับมากไปหาน้อย น้อยไปหามาก แล้วว๊ากกกก! ลูกเราทำผิดหมดเลย ป.1 เรียงลำดับเลขหนึ่งหลักผิด ป.2 และ ป.3 เรียงลำดับเลข 2 และ 3 หลัก ไม่ได้เลย ทำไมเป็นแบบนี้? หรือเป็นเพราะลูกเอายีนส์ด้อยของฉันไป! ครูพิพัฒน์พงศ์ บอกเราเสมอว่า “ไม่เกี่ยวเลยคุณ!” การที่เด็กไม่สามารถเรียงลำดับจำนวนได้ นั่นแสดงว่าพวกเขาไม่เข้าใจค่าประจำหลัก ตามหลักสูตรประถมศึกษา ป.1 ถึง ป.3 จะต้องเข้าใจในทุกมิติของคณิตศาสตร์ตัวเลข ตั้งแต่หลักหน่วยจนถึงหลักพัน! ดังนั้น เราจะต้องทำให้ลูกเข้าใจให้ได้ว่า หลักหน่วยอยู่ขวาสุดมีค่าน้อยที่สุด ตั้งแต่ 0 – 9 (_ _ _ 1) หลักสิบอยู่หน้าหลักหน่วยมีค่ามากกว่า ตั้งแต่…

เมื่อลูกขึ้น ป.4 คณิตศาสตร์จะกลายเป็นเรื่องยาก น่าเบื่อ ง่วงนอน และไม่อยากพูดถึง

วิชาคณิตศาสตร์ในช่วง ป.1 – ป.3 ผู้ใหญ่อย่างเราอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องง่าย (แค่บวกลบ) แต่ถ้าลูกของเราไม่เข้าใจเนื้อหาคณิตศาสตร์มาตั้งแต่เริ่มต้น มันจะกลายเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขา และคณิตศาสตร์พื้นฐานที่เด็กคิดว่ายากและไม่เข้าใจเริ่มตั้งแต่ ป.2 ไปจนถึง ป.3 ก็คือ จำนวนและตัวเลข (… หลักสิบ หลักหน่วย)   อะไรบวกหรือลบกับ … แล้วได้ … (… + 23 = 57 , 78 – …. = 19) การเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก มากไปหาน้อย การคูณและการหาร กราฟแท่ง กราฟตัวเลข กราฟแผนภาพ เศษส่วน โจทย์ปัญหา เรื่องสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ทั้ง 7 เรื่องนี้ ถ้าลูกของเราไม่เข้าใจตั้งแต่ช่วง ป.2 หรือ ป.3 แน่นอนว่าน้องจะไปต่อกับวิชาคณิตศาสตร์ในช่วง ป.4 – ป.6 ไม่ได้ เพราะเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์จะยิ่งยากขึ้นไปอีก ถ้าน้องไม่เข้าใจเนื้อมาตั้งแต่แรก…